หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

ยีนส์และความเป็นมา Jeans History

ยีนส์ เสื้อยีนส์ กางเกางยีนส์ ชุดยีนส์ ยีนส์เป็นเสื้อผ้าที่ไม่เคยล้าสมัยจริงๆ ยิ่งช่วงนี้จะเห็นชัดเลยว่าแฟชั่นของยีนส์หวนกลับมาอีกแล้ว โดยเฉพาะยีนส์เอวต่ำ ไม่ได้มีแต่ลีวายส์เจ้าตำรับที่ยังมุ่งหน้าผลิตยีนส์เก๋ๆ ออกมาเท่านั้น เหล่าดีไซน์เนอร์ชั้นนำก็ยังหยิบเอาผ้ายีนส์มาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้า Haute Couture ไว้สำหรับสาวไฮโซทั่วโลกสวมใส่ วันนี้เราจะพาคุณมาค้นหาว่าเสน่ห์ของยีนส์อยู่ตรงไหน ทำไมถึงยังครองใจคนทั้งโลกได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

ความเป็นมาของยีนส์
คำว่า ยีนส์ (Jeans) ถูกเรียกครั้งแรกเมื่อกะลาสีจากเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวมเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยผ้าที่มีสีน้ำเงินเข้มและเหนียวทนทาน ส่วนคำว่า Denim อาจเรียกชื่อตามผ้าชนิดหนึ่งซึ่งผลิตที่เมือง Nimes ในประเทศฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสเรียกผ้าชนิดนี้ว่า Serge de Nimes

ยีนส์ในยุคต่างๆ
ในศตวรรษที่ 18 ผ้ายีนส์ผลิตจากเส้นใยหลายชนิดที่นำมาทักทอรวมกัน และเมื่อมีการปลูกฝ้ายมากขึ้น ผ้ายีนส์จึงผลิตจากผ้าฝ้ายล้วนๆ และนำมาย้อมสีน้ำเงินอมม่วงเข้มที่เรียกว่าสี Indigo ซึ่งนำมาจากพืชชนิดหนึ่งที่ปลูกในทวีปอเมริกาและประเทศอินเดีย ปี ค.ศ. 1848 มีการขุดพบทองคำใกล้ๆกับเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย คนงานเหมืองทองเริ่มสวมใส่ยีนส์เพราะต้องการเสื้อผ้าที่ทนทาน แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่กระเป๋ากางเกง เพื่อช่วยให้ไม่ให้ขาดง่าย เขาต้องการจดลิขสิทธิ์ แต่มีเงินไม่พอจึงเขียนจดหมายไปหา Levi Strauss (เดิมชื่อ Leob Strauss) มาทำธุรกิจขายเสื้อผ้าที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งตกลงเป็นผู้จ่ายค่าลิขสิทธิ์นี้และเริ่มผลิตหมุดทองแดงเพื่อใช้ตอกติดกางเกงยีนส์ทรงตรงที่เหมาะกับคนทุกรูปร่าง

ปี ค.ศ. 1886 Levi เย็บป้ายหนัง มีรูปม้า 2 ตัวกำลังดึงกางเกงยีนส์ให้ขาดออกจากกันและเย็บแผ่นหนังนั้นติดไปบนกางเกงยีนส์ที่เขาผลิตเพื่อเป็นการโฆษณาว่ายีนส์ Levi ของเขานั้นทนทานเพียงไร ขนาดม้าสองตัวออกแรงดึงก็ยังไม่สามารถทำให้ขาดออกจากกันได้

ปี ค.ศ.1930 ชาวอเมริกันฝั่งตะวันออกต่างพากันแต่งตัวทำทีเป็นคาวบอยนุ่งยีนส์เลียนแบบหนังฮอลลีวูดกันถ้วนหน้า และต่อมา ปี 1940 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยีนส์ถูกส่งไปขายให้กับทหารอเมริกันใส่ในวันที่ไม่ได้ออกรบ แต่ภายหลังสงคราม Levi เริ่มขายยีนส์ไปทั่วอเมริกา และมีคู่แข่งเกิดขึ้นคือ Wrangler และ Lee

จนกระทั่งปี 1950-1960 ยีนส์เริ่มฮิตในกลุ่มวัยรุ่นและกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฎในทีวีและภาพยนร์ จนบางโรงเรียนในอเมริกาถึงกับสั่งห้ามนักศึกษาสวมยีนส์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ในปี1970 ยีนส์ราคาถูกลง และถูกนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อกันหนาวแทน

ทำให้ในปี1980 ความนิยมยีนส์เพิ่มมากขึ้นเพราะเหล่าดีไซน์เนอร์ต่างหันมาให้ความสนใจนำยีนส์ไปตกแต่งและออกแบบติดยี่ห้อของตนบ้าง และบางยี่ห้อก็มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้ยีนส์มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปเช่น การย้อมสีหลากหลาย และมีการนำวัตถุดิบอื่นมาใช้ในการทอผ้ายีนส์ ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ยีนส์จึงกลายเป็นที่นิยมในแฟชั่นทุกระดับ